การดูแลตนเองเมื่อมีอาการคล้ายติดเชื้อโควิดด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม : Celine Idlas
คุณ Celine Idlas จากประเทศฝรั่งเศส
ชื่อทางธรรม : ในแสงธรรม
ชื่อภาษาไทย : มะลิ
อยู่ที่ ภูเก็ต
การดูแลตนเองเมื่อมีอาการคล้ายติดเชื้อโควิดด้วยหลักการแพทย์วิถีธรรม เมื่อปี 2563 (ไม่ได้ไปตรวจที่โรงพยาบาล)
ทำงานอยู่ที่โรงเรียนในจังหวัดภูเก็ต รู้ว่าติดโควิด วันที่เด็กและผู้ใหญ่ติดเชื้อโควิดพร้อมกัน เด็ก 3 คน ผู้ใหญ่ 4 คน
5 วันแรกมีอาการอ่อนแรงนิดหน่อย ยังไม่รู้ว่าเป็นอะไร พอมีอาการเจ็บคอทั้ง 7 คนในวันเดียวกัน เลยรู้ว่า โควิดได้เข้ามาที่โรงเรียนเราแล้ว
วันต่อมา มีอาการเจ็บคอ ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อ วันถัดไปเริ่มหนักขึ้น ปวดที่หัวใจ มีอาการหายใจลำบาก รู้สึกได้ว่าชีวิตไม่ปลอดภัยแล้ว เข้าใจว่า ถ้าไม่ได้เป็นคนวางใจ ไม่กลัวตาย จะกลัวมาก
แต่ที่น่ากลัวที่สุดก็คือรู้สึกได้ว่าตายได้ง่ายมาก โรคโควิดไม่ใช่โรคทรมานจากการปวด แต่ทรมานจากความกลัวมากที่สุด ปวดมากแค่ไหนที่หัวใจและปอดมันก็ไม่หนักไม่แรง
แต่ทำไมผู้ป่วยรู้สึกปวดมาก ก็เพราะหัวใจเต้นไม่เหมือนเดิม ช้าบ้าง เร็วบ้าง ผู้ป่วยรับรู้ว่าอาการหนักแล้ว แต่ถ้าถามว่าปวดจริงไหม ความจริงคือปวดน้อย พอหายใจลำบากก็เช่นกัน แทบไม่ปวดแต่ยิ่งหายใจลำบากยิ่งกลัวตาย คนส่วนใหญ่ตายเพราะกลัว
ถ้าไม่กลัว จะเป็นยังไง สบายมาก เป็นครั้งแรกที่เป็นโรคหนักและดูแลตัวเองอย่างสบาย ๆ สนุกกับธรรมะเพิ่มศีลเพราะยอมกินสูตร 1 สนุกกับยา 9 เม็ด ทำตามกำลัง ไม่กังวลอะไร เหนื่อยแต่ยังดูแลตัวเองได้ อาการหนักที่สุด 24 ชั่วโมง หายใจไม่เข้าไม่ออก 7-8 ครั้ง ไปนอนตาย ถึงท่านอนเป็นท่าหายใจลำบากที่สุด หมดแรง ยอมนอน ยอมตายตามความสบาย ใจสงบนิ่งไม่คิดถึงใคร ไม่เสียดายอะไร ไปนอนตายเหมือนตอนไปนอนหลับ สุดท้ายฟื้นมาทุกครั้งและแปลกใจทุกครั้งว่ายังไม่ตาย ใจที่เบิกบานไม่ให้ใครเชื่อว่าไม่สบายหนัก สนุกดีเพราะมะลิไม่ได้บอกใครว่าเป็นหนักจนหาย รักษาใจคนดูแลให้มากที่สุด
การดูแลรักษาอาการด้วยเทคนิค 9 ข้อ ด้วยตนเอง
1. ตอนเริ่มอ่อนแรง ไม่ได้แก้อาการ เพราะคิดไม่ออกว่า ติดโควิด พอเริ่มเจ็บคอ ดื่มน้ำอุ่นไม่หาย ดื่มน้ำมะนาวก็ไม่หายและไม่รู้สึกดีขึ้น พักเท่าไหร่ก็ไม่ดีขึ้น เพียรบ้าง พักบ้างก็ไม่ดีขึ้น ไม่เหมือนหลายปีที่ผ่านมาตอนไม่สบาย แค่พักก็ดีขึ้น วันนั้นยอมไม่แก้อาการด้วยวัตถุ ทำอะไรก็ไม่หาย ตัดสินใจยาเม็ดที่ 8 ใช้ธรรมะ ทำใจว่าไม่หายก็ได้ช่างหัวมัน สบายใจดี
2. พอเริ่มปวดกล้ามเนื้อและปวดหัว ตั้งใจกินอาหารสูตร 1 คืออาหารไม่ปรุงแต่ง (เทคนิคข้อ 7 อาหารปรับสมดุล) และใช้เทคนิคข้อ 9 รู้เพียรรู้พัก ตามความสบาย แต่ไม่คิดว่าจะหาย ปล่อยวางแล้วว่าหายก็ได้ไม่หายก็ได้ สิ่งนี้ทำให้รู้สึกไม่ทรมาน รู้สึกสบายๆ
3. พอเริ่มหายใจลำบากและปวดที่หัวใจ มีกำลังใจเพียรใช้ยาอื่นๆ ตอนเช้ากัวซาบริเวณปอด หัวใจ กระดูกสันหลัง ไหล่และหลังเท่าที่ทำได้ กัวซาตัวเอง สีออกแดงเข้มทุกที่ (เทคนิคข้อ 2 การกัวซาขูดพิษขูดลม) อาการดูน่ากลัวเลยไม่ให้ใครเห็นเฉพาะพี่ชายที่ห่วงมากอยู่แล้ว เห็นอาการแบบนี้ก็ไม่กลัว แต่มะลิสบายใจมากที่ได้ระบายพิษออก ตั้งใจจะกัวซาอีก 2-3 วัน พอทำแบบนีสีเริ่มแดงอ่อน
วันที่หายใจลำบากที่สุดเป็นไข้ ใช้การพอกหน้าด้วยดินสอพอง ภายใน 2 ชั่วโมง ก็หายเป็นไข้ (เทคนิคข้อ 5 การพอกทาประคบอบอาบด้วยสมุนไพรที่ถูกกัน) ตอนบ่ายทุกวันที่มีอาการหนักที่สุด ประมาณ 3 วัน กดจุดเส้นลมปราณ (เทคนิคข้อที่ 6 กายบริหารโยคะ กดจุดลมปราณ) และแช่มือแช่เท้า (เทคนิคข้อ4 แช่มือแช่เท้า)ใช้น้ำปัสสาวะเก่ากับน้ำปัสสาวะใหม่ผสมน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาตามอากาศข้างนอกและความรู้สึกข้างใน ไม่ได้รู้สึกว่า อาการดีขึ้น ตอนกัวซาหรือแช่มือแช่เท้าหรือกดจุดลมปราณ แต่รู้สึกสนุกที่เต็มใจดูแลตัวเองให้ดีที่สุดโดยไม่รอผล และรู้สึกว่าที่ทำยา 9 เม็ดตามกำลังที่มี มันทำให้มีชีวิตชีวา ทำให้ใจเบิกบานและสงบ ตอนนั้นก็ดีท็อกซ์ทุกวันและรู้สึกเบาสบาย ดื่มน้ำปัสสาวะทุกวัน หลายครั้ง แต่สบายใจที่ทำหน้าที่ดูแลตัวเอง พบว่ายาที่มีผลมากที่สุดคืออาหารสมดุลร้อนเย็น(ร้อนเย็นพันกัน)ตามสูตร 1 และธรรมะ ยาเม็ดที่ 8 (สำคัญที่สุด) กับยาเม็ดที่ 9 และ เทคนิคข้อ 3 ดีท็อกซ์ (การสวนล้างลำไส้ใหญ่)
แนะนำหนังสือและบทความที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในยุคโควิด…
1). คู่มือสุขภาพพึ่งตนแพทย์วิถีธรรม ฝ่าวิกฤตโควิด 19 ฉบับย่อ
2). เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว ฉบับย่อ & ฉบับเต็ม
คำค้น : covid, covid-19, coronavirus, โควิด, โควิด19, โควิด-19, คู่มือสุขภาพพึ่งตน, แพทย์วิถีธรรมฝ่าวิกฤตโควิด 19, แพทย์ทางเลือก