Skip to content

ป่วยอย่างไรไม่ให้ทุกข์ : ลักขณา แซ่โซ้ว

ป่วยอย่างไรไม่ให้ทุกข์ : ลักขณา แซ่โซ้ว (Lakkhana Saesow) พ.บ. แพทยศาสตร์

บทคัดย่อ

        จากประสบการณ์ของผู้เขียนในการเป็นแพทย์ ต้องพบเจอกับผู้ที่เจ็บป่วยเป็นจำนวนมาก ทำให้ผู้เขียนได้เห็นความจริงของผู้ป่วย 2 กลุ่มที่แตกต่างกัน คือกลุ่มที่ทุกข์ใจ (เป็นส่วนใหญ่) และกลุ่มที่ไม่ทุกข์ใจ (เป็นส่วนน้อย) ผู้เขียนจึงมีความตั้งใจที่จะศึกษาวิธีการดับทุกข์ใจที่จะสามารถนำมาปฏิบัติได้จริงเมื่อเกิดความเจ็บป่วย โดยศึกษาตามแนวทางของพระพุทธเจ้า ด้วยการศึกษาจากพระไตรปิฎกและจากคำอธิบายของครูบาอาจารย์ที่ปฏิบัติได้จริง (เมื่อดับเหตุแห่งทุกข์คือตัณหาได้จริง ก็จะหายจากความทุกข์ใจได้จริง) เมื่อผู้เขียนได้ทดลองปฏิบัติตามจนเกิดประสบการณ์จริงในการปฏิบัติด้วยตนเองคือไม่ทุกข์ใจเมื่อเกิดความเจ็บป่วย และยังได้เห็นผลจากการปฏิบัติของผู้ที่เจ็บป่วยอื่นๆ อีกเป็นจำนวนมาก ที่หายทุกข์ได้ด้วยการปฏิบัติตาม ‘เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว’ ที่บูรณาการมาจากหลักอริยสัจ 4 และหลักธรรมอื่นๆ ในพระไตรปิฎก (โดย ดร.ใจเพชร กล้าจน) ทำให้สามารถนำไปปฏิบัติได้อย่างง่ายๆ ด้วยตนเองเมื่อเกิดความทุกข์ใจจากความเจ็บป่วย เมื่อไม่ทุกข์ใจก็ทำให้ร่างกายสามารถฟื้นตัวจากความเจ็บป่วยได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ผู้เขียนเกิดองค์ความรู้ที่ชัดเจนในการปฏิบัติสู่ความพ้นทุกข์ ซึ่งก็คือการปฏิบัติตามหลักอริยสัจ 4 และอริยมรรคมีองค์ 8 ตามแนวทางของพระพุทธเจ้า โดยสรุปออกมาเป็นวิธีง่ายๆ ได้ดังนี้

เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว คือ

    1. อย่าโกรธ
    2. อย่ากลัวเป็น
    3. อย่ากลัวตาย
    4. อย่ากลัวโรค
    5. อย่าเร่งผล
    6. อย่ากังวล

ซึ่งการทำใจให้ได้ดังที่กล่าวนี้ คือ ยากำจัดโรคที่ดีที่สุดในโลก และออกฤทธิ์เร็วที่สุดในโลก เพราะความไม่โกรธ ไม่กลัวเป็น ไม่กลัวตาย ไม่กลัวโรค ไม่เร่งผล ไม่กังวล ทำให้ใจไม่เป็นทุกข์ (ไม่เบียดเบียนตนเองด้วยความทุกข์ใจ) โรคจึงทุเลาหรือหายได้เร็ว ส่วนความโกรธ กลัวเป็น กลัวตาย กลัวโรค เร่งผล กังวล คือยาพิษที่ร้ายที่สุดในโลกและออกฤทธิ์เร็วที่สุดในโลก เพราะทำให้ใจเป็นทุกข์ (เบียดเบียนตนเองด้วยความทุกข์ใจ) โรคจึงทุเลาหรือหายได้ช้า

คำสำคัญ : ทุกข์จากความเจ็บป่วย เทคนิคทำใจให้หายโรคเร็ว อริยสัจ 4 อริยมรรคมีองค์ 8


อ่านเอกสารฉบับเต็มได้ที่ [คลิก]

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *