การปลูกต้นหม่อน : กมลชนก ทุมวงษ์ (แหม่ม-ใจพอเพียง)
ต้นหม่อนเป็นพืชที่มีประโยชน์มากมาย ลูกหม่อนหรือมัลเบอร์รี่กินสด ทำน้ำผักผลไม้ปั่น น้ำหม่อน หรือทำแยม ยอดอ่อนกินสดได้ หรือนำไปลวกกินกับน้ำพริก หรือผัด หรือยำรสดีนักแล ส่วนใบสดนำไปใส่ปรุงอาหารในแกงหรือต้มต่าง ๆ ใช้แทนผงชูรสหรือจะนำใบแก่ไปตากลมให้แห้งแล้วอบหรือคั่วให้สุกหอมเพื่อทำชา หรือจะนำไปปั่นเพื่อทำผงนัวไว้สำหรับปรุงอาหารใส่แกง หรือผัดต่าง ๆ หรือโรยข้าวต้มหรือข้าวสวย หรือจะใส่ในเครื่องดื่มต่าง ๆ เช่นน้ำนมธัญพืช
พื้นที่ปลูก จังหวัดสมุทรปราการ
การปลูกใส่กระถางก็ได้หรือจะลงดินก็ดี การใส่ปุ๋ยก็ไม่ยากใส่รอบ ๆ บริเวณโคนต้นหม่อนแหม่มทำแปลงเพอร์มาคัลเจอร์ไว้ซึ่งมีกิ่งไม้ ใบไม้ เศษอาหารในครัวเรือน และรดด้วยน้ำจุลินทรีย์ ต้นหม่อนเขาก็จะได้รับธาตุอาหารที่ย่อยสลายจากแปลงนี้เมื่อต้องการให้ลูกหม่อนออกลูกก็ทำการรูดใบ ตัดแต่งกิ่งถ้าสูงก็โน้มกิ่งมัดไว้ แต่ถ้าสูงมากก็ตัดยอดเลยเพื่อจะเก็บได้ง่าย เมื่อเขาออกยอดก็จะมีลูกอ่อนออกมาด้วย สามารถที่จะเก็บยอดมาปรุงอาหารได้เช่นลวกกินกับน้ำพริก หรือลวกแล้วยำก็รสดีไม่น้อย
รอบนี้ทยอยเก็บได้ทั้งหมดประมาณ 8 ถุง/ครึ่งกิโลกรัม (4 กิโลกรัม) หากต้องการเก็บไว้ให้ได้นานก็ให้ใส่ถุงหรือกล่องแช่แข็งไว้เป็นการถนอมอาหารอีกอย่างหนึ่งค่ะ
ประโยชน์ของหม่อน
สภาวธรรม
รู้สึกภูมิใจกับการปลูกต้นหม่อนซึ่งเป็นพืชอายุยืนปลูกครั้งเดียวเก็บกินได้ตลอดปี ท่านอาจารย์หมอเขียว ดร.ใจเพชร กล้าจน ได้กล่าวไว้ว่า “เมื่อเรากินผักที่มีอายุยืนเราก็อายุยืนเช่นกัน“