การจัดสรรและปรับระบบการกระจายน้ำเข้าและออกในแปลงกสิกรรม : ธัญมน หมวดเหมน (มั่นแสงธรรม)
การจัดการเรื่องการไขน้ำเข้า ไขน้ำออกในการทำกสิกรรมเป็นสิ่งจำป็น เพราะน้ำเป็นปัจจัยหลักในการทำกสิกรรมเพื่อสร้างองค์ประกอบปัจจัย 4 ที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต เราจึงต้องเรียนรู้และฝึกฝนการจัดสรรองค์ประกอบเรื่องน้ำให้พอเพียง กับผู้คนในสังคมหรือชุมชนนั้นๆที่เราอยู่อาศัย และฝึกฝนการใช้น้ำอย่างประณีต ประหยัด ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ภูผาฟ้าน้ำ เชียงใหม่ พื้นที่ภูเขาสูง (ดอยแพงค่า)
หลังการเพาะปลูกพืชผักในแต่ละแปลงแล้ว ขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งคือการจัดการองค์ประกอบเรื่องน้ำเข้า ออกในแปลงให้พอเหมาะพอดีต่อความต้องการของพืชที่เราปลูก เพราะถ้าน้ำมากหรือน้อยเกินไปพืชก็จะไม่งอกงาม ทำให้ผลผลิตไม่ดีตามไปด้วย
โดยหลักการให้น้ำ แต่ละฤดูกาลที่เราปลูกก็ต่างกันไปเช่น ในฤดร้อน น้ำแล้ง ผืนดินแห้งง่ายเราก็ต้องให้น้ำในปริมาณที่มากและบ่อยครั้งมากกว่าในฤดูฝนหรือฤดูหนาวที่มีปริมาณน้ำที่มากกว่า โดยการดูความชื้นของดินเป็นหลัก คือถ้าดินยังมีความชื้นอยู่เราก็งดการให้น้ำไปก่อน เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ ประหยัดแรงงานของเราด้วย
สภาวธรรม
ทำให้เข้าใจในบทบทวนธรรมที่อาจารย์กลั่นออกมาจาก พระไตรปิฎก บทที่ว่า”ทุกเสี้ยววินาทีทุกอย่างไม่เที่ยง อย่ายึดมั่นถือมั่น ต้องพร้อมรับพร้อมปรับพร้อมเปลี่ยนตลอดเวลา”ทำให้ใจเราคลายความติดยึดลงได้มาก เพราะเห็นจริงตามความเป็นจริงในความไม่เที่ยงนั้นว่าเป็นสัจจะแท้ ทำให้เราอยู่กับปัจจุบันที่สั้นลง แคบลงเรื่อยๆ มีสติอยู่กับปัจจุบันพากเพียรทำความยินดีเพื่อเป็นพลังในการสร้างสรรค์สิ่งดีมีประโยชน์ทั้งต่อตัวเราเองและผู้อื่น ร่วมกับครู อาจารย์และหมู่มิตรดี